ตัวอย่างธุรกิจที่ใช้ ERP ในต่างประเทศ
บริษัท
UC เป็นบริษัทผลิตและประกอบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มีโรงงานแห่งเดียวในสหรัฐอเมริกา
มีพนักงานทั้งสิ้น 800 คน และมียอดขายต่อปีประมาณ
สองพันล้านเหรียญตอนที่อาจารย์ McAfee ไปศึกษาสินค้าของบริษัทมีหลากหลาย
ทั้งที่เป็น Logic Devices, Memory, Mass Storage, ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ประยุกต์,
อุปกรณ์ Networking และ Input/Output รวมทั้งตู้เหล็กและตู้พลาสติก และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ซื้อจาก Supplier
ต่างๆ UC มีสินค้าหลักอยู่ 4 ประเภท ใหญ่ๆ ซึ่งมีราคาตั้งแต่ถูกจนแพง
ขึ้นอยู่ขีดความสามารถในการประมวลผลของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แต่เป็น สินค้าผลิตตามสั่ง (Make-to-Order Products)
เท่านั้นในแต่ละเดือน UC จัดส่งประมารณ 8000-10000 คำสั่งลูกค้า (Customer Order) และคำสั่งส่วนใหญ่ (ประมาณ 80%) เป็นสินค้าที่บริษัทไม่ได้ผลิตเอง แต่จะเป็นคำสั่งสินค้าปรับปรุง (Upgrades) หรือเพิ่มเติม (Additions) หรือทดแทน (Replacement) ประเภทอุปกรณ์ Networking และ Input/Output, หน่วยความจำ, และสินค้าอื่นๆ ซึ่งบริษัทมีสินค้าสต๊อกเก็บ
ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 บริษัท UC เริ่มมีความไม่พอใจในระบบสารสนเทศที่บริษัทใช้ในการจัดการระบบการผลิตและกระจายสินค้า ระดับดังกล่าวประกอบด้วยระบบย่อยประมาณ 40-ระบบเชื่อมต่อกันและการเชื่อมข้อมูลเป็นระบบแบ็ช (Batch) โดยที่ไม่สามารถเชื่อมข้อมูลแบบทันทีทันใดได้ นอกจากนี้บริษัทยังมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและมีความซ้ำซ้อน ผู้บริหารไม่สามารถได้ข้อมูลแบบ Real Time เกี่ยวกับข้อมูล พื้นฐาน เช่น ระดับสินค้าคงคลัง เป็นต้น ความไม่มีประสิทธิภาพของระบบบั่นทอนความสามารถของบริษัทใมนการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและทันเวลาโดยมีต้นทุนต่ำ
ในปี 1993 บริษัทตัดสินใจเปลี่ยนใช้ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) ใหม่ซึ่งไปทดแทนประมาณ 75 % ของระบบเก่า โดยที่ระบบใหม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลของการวางแผน การจัดการคำสั่งลูกค้า การจัดซื้อ และการผลิต ได้ดีขึ้น เป้าหมายเดิมของการขึ้นระบบได้มีการกำหนดว่า จะเป็นเดือนมีนาคม 1997 แต่ก็ต้องถูกเลื่อนไป 2-ครั้งจากปัญหาทางเทคนิค-จนกระทั่งขึ้นได้ในเดือนกันยายน 1997 และในการขึ้นระบบนี้ใช้วิธีแบบขึ้นทีเดียวเบ็ดเสร็จ โดยมีการปิดการปฏิบัติการ 10 วัน มีการโอนถ่ายข้อมูลเข้าระบบใหม่และมีการนับสต๊อกในช่วงเวลาเดียวกันซึ่งนับว่าเป็นวิธีการที่ยุ่งยากและซับซ้อนมากที่เดียว
บริษัทมีการวัดสมรรถนะของการปฏิบัติงานในหลายมิติ แต่ที่สามารถวัดได้เป็นตัวเลขมีอยู่ 2 มิติ คือ
1. สัดส่วนของคำสั่งลูกค้าที่ส่งได้ทันกำหนด
2.เวลานำส่ง (Lead Time) หรือเวลาส่งมอบคำสั่งสินค้า ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาระหว่างที่รับคำสั่งและวันที่ส่งสินค้า
นอกจากบริษัท UC แล้วยังมี บริษัท Mini Gears ที่นำ ERP เข้าไปใช้ในธุรกิจแล้วประสบความสำเร็จ
บริษัท Mini Gears ได้ตระหนักว่าในปัจจุบันระบบ ERPของพวกเขา ไม่เพียงพอ พวกเขาจำเป็นต้องบูรณาการให้เข้ากับกับการซื้อ,การขายและการเงิน และทำให้พวกเขาต้องมี EFACS เพิ่มขึ้นมา เพื่อตอบสนอง ต่อการใช้งานที่มากขึ้น วึ่งเป็น ERP อีกรูปแบบหนึ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น