สภาพปัจจุบันของข้อมูลระบบสารสนเทศ
1. การขาดการประสานรวมกันของระบบงาน
ระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีมาแต่เดิมนั้น
ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาในแต่ละ หน่วยงานแยกกันไป โดยมุ่งเน้นให้มีการประหยัดพลังงาน
การใช้เครื่องจักรแทนคนและการทำให้เป็นอัตโนมัติให้มากที่สุดผลที่ตามมาก็คือ
ระบบข้อมูลสารสนเทศที่สร้างขึ้นมาจะแตกต่างกันไปตามแผนกต่างๆ และเป็นเอกเทศต่อกัน
ทำให้เกิดความล่าช้าของการไหลหรือการเชื่อมต่อของข้อมูลระหว่างระบบงานที่ต่างกัน ซึ่งจะเป็นอุปสรรคทำให้ไม่สามารถสร้างระบบงานที่รวดเร็วได้
2. การขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของข้อมูล
เนื่องจากมีการกระจัดกระจายของข้อมูลอยู่ตามแผนกต่างๆ
และมีระบบข้อมูลสารสนเทศแยกตามแผนกต่างๆ
กัน ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลและการที่จะให้แผนกต่างๆใช้ข้อมูลร่วมกันนั้นเป็นไปได้ยากทำให้เป็นอุปสรรคกีดขวางการทำงานประสานร่วมกันระหว่างแผนกและทำให้การที่แต่ละแผนกจะใช้ความสามารถของตนเองช่วยกันแก้ปัญหาและบริหารงานอย่าง
สร้างสรรค์นั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้
3. การขาดความรวดเร็วในการตอบสนอง
ระบบข้อมูลที่ผ่านมานั้นข้อมูลที่เกิดขึ้นในแต่ละแผนกนั้นจะถูกประมวลผลแบบ Batch processing เป็นช่วงๆ
เช่น เดือนละครั้งฯลฯทำให้ข้อมูลของแต่ละแผนกนั้น
กว่าจะถูกนำไปใช้ในองค์กรโดยรวมเกิดความล่าช้า ดังนั้นการบริหารที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลสดได้ ณ เวลานั้น (real time) เพื่อการตัดสินใจได้ทันท่วงที (timely decision) เป็นไปไม่ได้และเกิดขึ้นยากได้
4. ขาดความสามารถด้าน globalization
ระบบข้อมูลสารสนเทศที่ผ่านมานั้น
ถูกสร้างขึ้นมาใช้เฉพาะงาน ไม่สามารถรองรับการทำธุรกิจแบบข้ามชาติ
และไม่สามารถทำให้กระบวนการทางธุรกิจ (business process) เป็นแบบ global ได้
ดังนั้นการใช้ข้อมูลข้ามประเทศเพื่อร่วมงานกันจึงเกิดขึ้นยาก ผลก็คือ ทำให้การตัดสินใจที่ทันเหตุการณ์
บนพื้นฐานของสภาพความจริงปัจจุบันของการดำเนินการแบบ global ไม่สามารถทำได้
5. ความไม่ยืดหยุ่นของระบบข้อมูลสารสนเทศ
ระบบข้อมูลสารสนเทศเดิมส่วนใหญ่จะพัฒนากันขึ้นมาเอง
ระบบจึงประกอบด้วยโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ขาดความยืดหยุ่นในการแก้ไขเพิ่มเติมและดูแลระบบ
จึงเป็นการยากต่อการปรับปรุงเพื่อให้สามารถรับมือกับการบริหารเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วได้
· การวางฐานรากของแนวคิด
ERP และการนำ
ERPมาใช้ ทำได้โดย
1.
การรับรู้สภาพแวดล้อมของการบริหารที่มีการแข่งขันสูง
สภาพแวดล้อมการบริหารธุรกิจในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก
รุนแรงและต่อเนื่องการที่ต้องเผชิญกับการแข่งขันอย่างรุนแรงจากต่างประเทศทั่วโลก
และเพื่อการอยู่รอดขององค์กรต่อไปในอนาคตความสามารถที่จะปรับตัวและรับมือกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก
ความเร็วในการปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง จะมีผลต่อผลประกอบการขององค์กร
2. การรับรู้ถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหาด้านการบริหาร
เมื่อถึงยุคบริหารที่ต้องแข่งขันสูง
ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นต้องเร่งแก้ไขโดยด่วนไม่สามารถรอได้แม้แต่นาทีเดียว
หมดยุคการทำงานที่ล่าช้า ไม่เห็นภาพรวม ไม่สามารถตัดสินได้รวดเร็วและทันเวลา
ดังนั้นการวางฐานรากของ
ERP และการนำ
ERP เข้ามาใช้เป็นสิ่ง
ที่จำเป็น
3. การสร้างระบบสารสนเทศองค์กรใหม่
โดยสร้างระบบ ERP
เพื่อให้การนำ ERP มาใช้เป็นไปอย่างถูกต้องตามแนวคิด
ERP สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือการสร้างระบบสารสนเทศองค์กรใหม่โดยสร้างระบบ ERP โดยใช้ชุดโปรแกรม ERP
package เนื่องจากระบบข้อมูลที่มีอยู่แล้วนั้น
ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาการบริหารงานตามแนวคิดของ ERP ได้
4. การลงมือนำ ERP มาใช้
องค์กรหลายองค์กรทั้งขนาดใหญ่
ขนาดกลาง และขนาดเล็ก มีความมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาการ บริหารโดยนำ ERP มาใช้
· ความสามารถในการแข่งขันขององค์กร
การนำ ERP มาใช้เป็นสิ่งที่คาดหวังว่าจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการปฏิรูปองค์กร
ในการปฏิรูปองค์กรจำเป็นต้องเข้าใจว่า
ขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรเกิดขึ้นได้อย่างไร
ซึ่งความสามารถในการแข่งขันหรือความเข้มแข็งขององค์กรนั้นมี 3 ส่วนด้วยกัน
1.
ความเข้มแข็งของสินค้าหรือบริการ
การแข่งขันส่วนนี้มองเห็นได้ง่ายที่สุดองค์กรที่เข้มแข็งสามารถรักษาความเข้มแข็งไว้ได้นาน
เนื่องจากมีสินค้าและบริการที่แตกต่างจากคนอื่นและช่วงชีวิตของสินค้าและบริการในอดีตนั้นค่อนข้างยาวนาน แต่ว่าในปัจจุบันการสร้างความแตกต่างของสินค้าและบริการนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก
ช่วงชีวิตของสินค้าและบริการก็สั้นลง จึงทำให้ความสามารถขององค์กรนั้นตัดสินกันที่ความสามารถในการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
ช่วงชีวิตของสินค้าและบริการก็สั้นลง จึงทำให้ความสามารถขององค์กรนั้นตัดสินกันที่ความสามารถในการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
2. ความเข้มแข็งด้านกระบวนการทางธุรกิจ (business process)
เป็นการแข่งขันในเรื่องของความมีประสิทธิภาพในการสร้างมูลค่าเพิ่มในกระบวนการทางธุรกิจ ตาม business scenarioในการผลิตสินค้าและบริการ
เช่น กระบวนการพัฒนาสินค้า, กระบวนการในการส่งมอบสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้ากระบวนการเหล่านี้ต้องรวดเร็วเพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งได้มากและเป็นพลังการแข่งขันที่สำคัญ
ดังนั้นองค์กรจำเป็นต้องมีความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจให้ก้าวหน้าและทันสมัยอยู่เสมอ
3.ความเข้มแข็งด้านการพัฒนาสินค้าและบริการแบบใหม่ๆ
รวมทั้งความสามารถในการสร้างกระบวนการทางธุรกิจแบบใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพ
ความเข้มแข็งเกิดจากความสามารถในการพัฒนาสินค้าและบริการแบบใหม่ๆ และความสามารถในการสร้างกระบวนการทางธุรกิจ (business process) แบบใหม่
บนพื้นฐานของรูปแบบธุรกิจ
(business scenario) อย่างต่อเนื่อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น